วิธีการคำนวณ Pot odds ในขณะเล่นโป๊กเกอร์

วิธีการคำนวณ Pot odds ในขณะเล่นโป๊กเกอร์

วิธีการคำนวณ Pot odds ในขณะเล่นโป๊กเกอร์

Pot odds (ความเสี่ยงต่อผลตอบแทน) คือแนวคิดที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการแข่งขัน Poker  เป็นแนวคิดพื้นฐานที่นำการคำนวณหาความคุ้มค่าในทุกๆ ครั้งที่ตัดสินใจ Call ซึ่งหากไม่ได้นำ Pot odds มาใช้ในการคำนวณ เราจะไม่สามารถทราบได้เลยว่า การตัดสินใจ Call นั้นเป็นการเล่นที่เป็นกำไร หรือ ขาดทุน ในบทความนี้เราจะนำคุณไปทำความเข้าใจในเรื่อง “การคำนวณความคุ้มค่าด้วย Pot odds และ วิธีคิดโป๊กเกอร์เงินจริง”  อย่างละเอียด และ นอกจากนี้ เนื้อหาของบทความยังอธิบายเกี่ยว Equity และ Implied odds  ให้คุณได้ทำความเข้าใจอีกด้วย

และนี่คือหัวข้อที่นำเสนอในบทความนี้

Poker กับความน่าจะเป็น

แน่นอนว่าก่อนที่เราจะทำความเข้าใจเกี่ยวกับ Pot odds หรือ ความเสี่ยงต่อผลตอบแทน เราควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องความน่าจะเป็นในโป๊กเกอร์เสียก่อน โดยการทำความเข้าใจจากพื้นฐานที่ไพ่ทั้งหมดจำนวน 52 ใบ  ใน 1 สำรับ เริ่มเล่นโดยการแจกให้ผู้เล่นแต่ละคน คนละ 2 ใบ ทำให้มีโอกาสที่เราไม่อาจคาดเดาได้ว่าไพ่ที่จะเปิดที่ Flop เป็นไพ่ใบใด เท่ากับ 50 ใบ นั้นมีโอกาสเท่ากับ 1 ใน 50 หรือเท่ากับ 2% นั่นเอง

ดั้งนั้นในการแข่งขันจริง ยิ่งมีไพ่เปิดขึ้นที่กองกลางเพิ่มขึ้น โอกาสที่ไพ่แต่ละใบจะถูกเปิดขึ้นมาก็จะเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา ยกตัวอย่างเช่น ในการเล่นที่ Turn มีไพ่ที่ Flop เปิดขึ้นมาแล้ว 3 ใบ ดังนั้น โอกาสที่ไพ่ที่ Turn จะเปิดไพ่ใบใดใบหนึ่งจะเปลี่ยนจาก 1 ใน 50 ไปเป็น 1 ใน 47 แทน นั่นเท่ากับ 2.12% เช่นเดียวกันกับการเล่นที่ River ที่จะเปลี่ยนไปเป็น 1 ใน 46 คือ 2.17% ซึ่งเราสามารถกำหนดค่าโดยประมาณได้เท่ากับ 2% ที่ไพ่แต่ละใบมีโอกาสถูกเปิดขึ้นในแต่ละรอบ เพื่อให้สามารถจดจำได้ง่าย

Pot odds คืออะไร?

Pot odds นั้นหมายถึง “ความสัมพันธ์ ระหว่าง ชิปที่คุณต้องจ่ายเมื่อคุณ เลือกที่จะ Call เปรียบเทียบกับ ผลตอบแทนที่คุณจะได้ หากคุณชนะในการเล่นนี้” ซึ่งมีพื้นฐานไม่แตกต่างจากการวางเดิมพันในการเล่นประเภทอื่นๆ ยกตัวอย่างเช่น รูเล็ต ที่คุณวางชิปเดิมพันลงไปในช่องที่คุณต้องการ และ จะได้รับผลตอบแทนเป็นจำนวนเท่าใด ตามอัตราที่กำหนด เพียงแต่ Poker นั้น มีผลตอบแทนคือชิปที่อยู่ที่กองกลาง (Pot) ซึ่งไม่มีการกำหนดขนาดไว้ ในขณะนั้นนั่นเอง
แต่เราจะสามารถใช้การคำนวณความคุ้มค่านี้ได้อย่างไร?

ตัวอย่าง Pot odds และการนำไปใช้งาน

ยกตัวอย่าง ในการแข่งขันโป๊กเกอร์ เมื่อเล่นมาถึงการเล่นที่ River มีชิปกองกลางอยู่ที่ 20$ เหลือผู้เล่น 2 คน คือคุณและคู่ต่อสู้ที่ต้องเล่นก่อนเลือก Bet ออกมา 10$ (ขนาด ½ ของ Pot) การตัดสินใจกลับมาถึงคุณ หากคุณ Call และ ชนะ นั้นหมายถึง การที่คุณลงทุน 10$ เพื่อชนะชิปกองกลางที่ 40$ คือกำไร 30$ เขียนให้อยู่ในรูปที่สามารถเข้าใจได้ง่าย นั่นคือ 3 ต่อ 1 

ถึงตรงนี้ คุณสามารถคำนวณหาความเสี่ยงต่อผลตอบแทน หรือ Pot odds ได้แล้ว แต่ คุณจะนำผลลัพธฺ์ที่ได้ไปใช้ในการเล่นของคุณอย่างไร? 

ประการแรก คุณต้องนำผลลัพธ์ที่ได้มาคำนวณเปรียบเทียบกับไพ่บนมือของคุณ ซึ่ง สถานการณ์โดยทั่วไปมักจะเป็นไพ่ที่คุณกำลังมีลุ้นติดอะไรบางอย่าง ยกตัวอย่างเช่น เมื่อจบการเล่นที่ Turn มีไพ่ข้าวหลามตัด สีเดียวกัน 4 ใบ และกำลังลุ้นที่จะติดสีที่ใหญ่ที่สุดอยู่ โอกาสที่สามารถเกิดขึ้นได้จาก ไพ่ข้าวหลามตัดที่เหลืออีก 9 ใบ จากไพ่ 46 ใบ นั่นหมายถึงโอกาสราวๆ 20% 

โอกาสที่จะเกิดขึ้น คือ ใน ไพ่ 5 ใบ จะมีข้าวหลามตัด 1 ใบ นั่นหมายถึง Odds ที่ 4 ต่อ 1 ทำให้เราทราบว่า หาก Pot odd ที่ได้รับมีค่าเท่ากับ 4:1 หรือ มากกว่า การ Call เพื่อลุ้นติด Flush นี้จะเป็นการเล่นที่เป็นกำไร แต่ถ้าน้อยกว่า จะเป็นการเล่นที่ขาดทุน ในระยะยาว

คำนวณ Outs และ Equity

เพื่อให้คุณสามารถ คำนวณ Out(ไพ่ที่เหลืออยู่และมีโอกาสเปิดขึ้นเพื่อให้คุณชนะ) ได้อย่างถูกต้อง ซึ่งนักกีฬาโป๊กเกอร์ทั่วไปสามารถทำได้ แต่มันไม่ได้ง่ายเสียทีเดียวเนื่องจากโป๊กเกอร์นั้นมีความซับซ้อน ไพ่ที่คุณคำนวณว่าหากเปิดขึ้นมาจะทำให้คุณชนะคู่ต่อสู้นั้น อาจทำให้คู่ต่อสู้ติดไพ่ที่ดีกว่าคุณและเอาชนะคุณไปก็ได้ 
ในกติกาการแข่งขันโป๊กเกอร์ ทั่วไป เราได้แสดง ตาราง Out ในสถานการณ์ต่างๆ อย่างครอบคลุมไว้ ตามตารางด้านล่าง

คำนวณ Outs และ Equity

หากคุณต้องการคิดจาก Out ไปเป็น Equity เราสามารถใช้ 4% ในการคำนวณแต่ละ Out ในการเล่นแต่ละรอบได้ ยกตัวอย่างเช่น คุณมีลุ้นที่จะชนะจากไพ่ 10 Out ก็สามารถนำ 4% ไปคำนวณโดยการคูณก็จะได้ค่าออกมาที่ (4×10) 40% นั่นคือ Equity ที่คุณมี

วิธีคิด Pot odds ในรูปแบบ เปอร์เซ็นต์

ในหัวข้อนี้ เราจะเสนอวิธีการคำนวณหา Pot odds ในรูปแบบ เปอร์เซ็นต์ โดยเริ่มต้นทีละหัวข้อดังตัวอย่างด้านล่าง

  1. คำนวณขนาดของชิปกองกลางทั้งหมดหลังจากที่คุณ Call
  2. หารจำนวนชิปที่ใช้ Call ด้วยจำนวนชิปกองกลางในข้อ 1
  3. คูณผลลัพธ์ที่ได้ในข้อ 2 ด้วย 100

ลองทำความเข้าใจจากตัวอย่าง คู่ต่อสู้ของคุณ Bet 5$ ลงบนชิปกองกลาง 15%

  1. ขนาดของชิปกองกลางหลังจากที่คุณ Call =20+5=25$
  2. 5/25 =0.20
  3. 0.20 * 100 = 20%

Anti Outs และ Blocker

Antiouts และ Blocker คือ แนวคิดที่สำคัญที่คุณต้องนำไปพิจารณาใช้ในการคำนวณ Out ในการเล่นของคุณ 
Antiouts คือไพ่ที่คุณต้องการให้เปิดขึ้นเพื่อให้มือของคุณมีความแข็งแกร่งแต่มันก็เป็นไพ่ที่ทำให้คู่ต่อสู้ของคุณแข็งแกร่งขึ้นด้วย ยกตัวอย่างเช่น บนบอร์ดที่มีลุ้นสีและเรียง ซึ่งไพ่ใบเดียวกัน อาจทำให้ผู้เล่นทั้งคู่ ติดเรียง หรือ สีได้นั่นเอง

ในทางตรงข้ามกัน

Blocker คือไพ่ ที่จะไปลดโอกาสที่จะทำให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง สามารถเพิ่มหรือติดไพ่ที่มีความแข็งแกร่งได้ ยกตัวอย่างเช่น คุณถือไพ่ A♥K♥ นั่นหมายความว่า คุณถือไพ่ที่ไป Block โอกาสของคู่ต่อสู้ที่จะมีไพ่ที่เป็น Nuts Flush ลงไป
ซึ่งการทำความเข้าใจแนวคิดของทั้งสองจะช่วยให้คุณสามารถนำมาใช้ตัดสินใจได้อย่างถูกต้องมากยิ่งขึ้นในการแข่งขันโป๊กเกอร์

ตัวอย่าง การนำ Pot odds มาใช้ในการตัดสินใจ ที่เป็นกำไร  และ ขาดทุน

การนำ Pot odds มาใช้ในการตัดสินใจที่เป็นกำไร

เราขอนำตัวอย่างมาใช้เพื่อทำความเข้าใจ ถึงวิธีการนำ Pot odds มาใช้ในการตัดสินใจ โดยสมมุติให้คุณเล่นโป๊กเกอร์ในรูปแบบ Texas Hold’em ถือไพ่ 8♦9♦

Flop เปิดไพ่ออกมาเป็น 6♦7♠J♦

ทำให้ขณะนี้คุณยังไม่ติดอะไร แต่มีลุ้นเรียงหัวท้าย  Open-End Straight draw และ ลุ้นสี Flush draw คู่ต่อสู้ Bet วางเดิมพันมาที่ 20$ ในขณะที่มีชิปกองกลาง(Pot) อยู่ที่ 30$ ลองคำนวณความคุ้มค่า ในการ Call หรือ Fold ด้วย Pot odds
จากตัวอย่างเราสามารถคำนวณ Pot odds ได้ดังนี้

Pot odds = (จำนวนชิปที่คุณ Call / ขนาดของชิปกองกลางทั้งหมดรวมที่คุณ Call) x 100

= 20 / 50 x 100

= 0.4 x 100 =40%

ต่อมาคุณต้องคำนวณโอกาสที่คุณจะชนะ หากคุณ Call (ก็คือ Out นั่นเอง) ซึ่งก็คือ ไพ่ 5 สี่ใบ, ไพ่ 10 สี่ใบ และ ไพ่ข้าวหลาม 7 ใบ รวมทั้งหมด 15 Outs คิดเป็นเปอร์เซ็นต์อยู่ที่ราวๆ 54%

ด้วย Pot odds ที่ 40% ต่ำกว่าโอกาสที่คุณจะชนะ ที่ 54% การตัดสินใจเล่น หรือ  Call ในครั้งนี้จึงเป็นการเล่นที่เป็นกำไรในระยะยาว

การนำ Pot odds มาใช้ในการตัดสินใจที่ขาดทุน

เพื่อความเข้าใจในการสินใจเล่นที่เป็นการขาดทุน เรามาทำความเข้าใจจากตัวอย่างเช่นเดิม  โดยสมมุติให้คุณเล่น Poker ในรูปแบบ Texas Hold’em ถือไพ่ Q♦J♦ 

Flop เปิดไพ่ออกมาเป็น 9♣T♠A♥

ทำให้ขณะนี้คุณยังไม่ติดอะไร แต่มีลุ้นเรียงหัวท้าย  Open-End Straight draw  คู่ต่อสู้ Bet วางเดิมพันมาที่ 20$ ในขณะที่มีชิปกองกลาง(Pot) อยู่ที่ 30$ ลองคำนวณความคุ้มค่า ในการ Call หรือ Fold ด้วย Pot odds
เช่นเดียวกับตัวอย่างแรก เราใช้วิธีการเดิมคำนวณ Pot odds ได้ดังนี้

Pot odds = (จำนวนชิปที่คุณ Call / ขนาดของชิปกองกลางทั้งหมดรวมที่คุณ Call) x 100

= 20 / 50 x 100

= 0.4 x 100 =40%

ต่อมาคุณต้องคำนวณโอกาสที่คุณจะชนะ หากคุณ Call (ก็คือ Out นั่นเอง) ซึ่งก็คือ ไพ่ 8 สี่ใบ, ไพ่ K สี่ใบ รวมทั้งหมด 8 Outs คิดเป็นเปอร์เซ็นต์อยู่ที่ราวๆ 16%

ด้วย Pot odds ที่ 40% นั่นสูงกว่าโอกาสที่คุณจะชนะ ที่มีเพียง 16% ดังนั้นการตัดสินใจเล่น หรือ  Call ในครั้งนี้จึงเป็นการเล่นที่ขาดทุนในระยะยาว

Implied odds

ในบทความนี้เราได้ทำความเข้าใจ Pot odds ซึ่งเป็นกระบวนการใช้ผลการคำนวณเพื่อช่วยตัดสินใจในสถานการณ์นั้นๆ แต่มันเป็นเพียงการตัดสินใจเพียงสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่ง ซึ่งในการแข่งขันโป๊กเกอร์มีความซับซ้อนมากกว่านั้น เช่น Implied odds เนื่องจากในการเล่นอาจจะยังไม่จบสิ้นทันทีจากการ Call ยกตัวอย่างเช่น การ Call ในรอบ Flop หรือ Turn ซึ่ง การเล่นในรอบต่อไปจะทำให้ ขนาดของชิปกองกลางเปลี่ยนแปลงมากขึ้น ทำให้การคำนวณด้วย Pot odds ที่ผ่านมา เกิดความผิดพลาด หรือ คลาดเคลื่อนได้

ยกตัวอย่างเช่น

ในเกม Poker Limit Hold’em ที่โต๊ะ 2/4$ เหลือคุณกับคู่ต่อสู้ 2 คน คู่ต่อสู้ของคุณ Bet 4$ ลงบนชิปกองกลาง 16$ ทำให้สามารถคำนวณ Pot odds ได้ 5 ต่อ 1 (เสี่ยง 4$ เพื่อชนะ 20$ หรือ 1:5) ซึ่งคุณคาดเดาว่า คู่ต่อสู้ของคุณจะยัง Bet ต่อในรอบต่อไปที่ประมาณ 4$ ซึ่งทำให้ สามารถคำนวณ Implied odds ได้ที่ 1:6 และมากกว่านั้นหากมีการ Bet หรือ Raise ที่มากกว่า ทำให้ความเสี่ยงในรอบนี้มีความคุ้มค่าเพิ่มมากขึ้นนั่นเองจากผลตอบแทนที่สูงขึ้น

สรุปบทความ

Pot odds นั้นเป็นแนวคิดที่มีความสำคัญมากที่คุณควรศึกษาและทำความเข้าใจให้เกิดความเชี่ยวชาญ และ ทดลองจากตัวอย่างในสถานการณ์ในการเล่นจริง เนื่องจาก Pot odds นั้นช่วยให้ทราบว่า การตัดสินใจของคุณนั้น เป็นการตัดสินใจเล่นที่ถูกต้องและเป็นกำไรในระยะยาว