กลยุทธ์การวางแผนบริหารจัดการ Bankroll ในเกมโป๊กเกอร์อย่างมืออาชีพ
การเล่นโป๊กเกอร์เงินจริงให้ประสบความสำเร็จในระยะยาวนั้น นอกเหนือจากเรื่องของการศึกษากลยุทธ์การเล่น เพื่อให้เรามีทักษะเหนือกว่าคู่แข่งแล้ว สิ่งสำคัญที่สุดอีกเรื่อง ก็คือเรื่องของการวางแผนบริหารจัดการเงินทุนที่นำมาเล่น Poker หรือ Bankroll Management เพราะเป็นกลยุทธ์การเล่นโป๊กเกอร์เงินจริงที่จะช่วยให้ผู้เล่นทุกคน สามารถบริหารจัดการความเสี่ยงได้เหมาะสมกับการรับความเสี่ยงของตัวเอง สามารถวางแผนยกระดับเกมการเล่นของตัวเองได้อย่างมั่นคง และทำให้เงินทุนในการเล่นของเราสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน
เราควรเริ่มต้นแบ่งเงินมาเล่นโป๊กเกอร์เงินจริงเท่าไหร่?
การจะแบ่งเงินเก็บมาเล่นโป๊กเกอร์เงินจริง เราควรนำเงินส่วนที่เป็นเงินเย็นมาเล่น แบบที่พร้อมจะเสี่ยงได้ ต่อให้เสียเงินก้อนนี้ไปทั้งหมดเราก็ไม่ถึงกับเดือดร้อน อาจจะเป็นเงินจำนวน 5-10% ของเงินเก็บเราทั้งหมดที่มีอยู่ เช่น เรามีเงินเก็บอยู่ 100,000 บาท เราอาจจะเริ่มเล่นเงินจริง โดยแบ่งเงินมาเล่นประมาณ 10% หรือ 100,000 x 10% = 10,000 บาท เป็นต้น
เงินที่เราแบ่งมาเล่นนี้ จะเรียกว่า “แบงค์โรล” (Bankroll) เป้าหมายในการเล่นของเราคือ พยายามทำกำไรจาก Bankroll ที่มีอยู่ให้ได้ หรือสะสมกำไรที่ได้มาไว้ใน Bankroll เพื่อทำให้ Bankroll เติบโตขึ้นไปเรื่อยๆ (หรือที่เรียกว่าปั้น Bankroll) โดยที่ระหว่างทางต้องพยายามรักษา Bankroll ให้อยู่ต่อไปได้เรื่อยๆให้นานที่สุด โดยที่ไม่หมดไปก่อน จากการเล่นที่ผิดพลาด หรือจากความโชคร้าย ซึ่งก็คือเรื่องของ Bankroll Management นั่นเอง
เราควรจะเลือกเล่นเกมประเภทไหน ระดับไหนดี?
หลังจากที่เราเตรียมเงินมาเล่นแล้ว ขั้นต่อไปก็คือ การเลือกรูปแบบของเกม และระดับของเกมที่จะเล่น โดยที่รูปแบบหลักๆของเกมโป๊กเกอร์ที่เราเลือกได้ ก็คือ Cash Game หรือ Tournament ซึ่งก็จะมีความแตกต่างกัน ดังนี้ :
ลักษณะของโป๊กเกอร์แบบ Cash Game
- Buy-In โดยการเอาเงินไปแลกเป็นชิพมาเล่น และจำนวนชิพที่ได้ มีมูลค่าเท่ากับเงินที่เอาไปแลก (เช่น 1,000 บาท = 1,000 ชิพ)
- Blind คงที่ไปตลอด
- มีหัก rake หรือค่าธรรมเนียม จาก Pot
- สามารถเล่น Deep Stack เช่น 100bb ได้ตลอด
- จะเริ่มเล่นเมื่อไหร่ หยุดเมื่อไหร่ก็ได้ (ถ้าโต๊ะมีคนเล่นด้วย)
- ได้ชิพเพิ่ม คือได้กำไรทันที
- มีโอกาสเสียเงินได้ไม่จำกัด เพราะสามารถ Buy-In เพิ่มใหม่ได้เรื่อยๆตลอดเวลา
- มีโอกาสทำกำไรแบบค่อยๆทยอยสะสมกำไรทีละนิดไปเรื่อยๆโดยเฉลี่ยในระยะยาว
ลักษณะของ Poker แบบ Tournament
- Buy-In โดยการจ่ายเงินค่าสมัครเล่น และจำนวนชิพที่ได้ ไม่มีมูลค่าเท่ากับจำนวนเงินค่าสมัคร (เช่น จ่ายค่าสมัคร 300 บาท ได้มา 10,000 ชิพ เริ่มต้นเท่ากันหมดทุกคน)
- Blind ปรับเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ
- ไม่มีหัก Rake จาก Pot แต่มีหัก Ante จากผู้เล่นเอาไปไว้ใน Pot
- ต้องเล่น Short Stack (น้อยกว่า 30bb) บ่อยกว่า เนื่องจาก Blind ปรับเพิ่มขึ้นสูงขึ้นเรื่อยๆ
- เริ่มเล่นตามเวลากำหนดของทัวร์นาเมนต์นั้น จะเลิกเมื่อเราเสียชิพจนหมดทำให้ตกรอบ ทำให้โดยส่วนใหญ่ใช้เวลาการเล่นค่อนข้างนานกว่า Cash Game (ยกเว้นเรายอมทิ้งชิพแล้วลุกออกจากทัวร์นาเมนต์ไปเลย)
- จะได้กำไรก็ต่อเมื่อ In The Money (ITM) แล้วเท่านั้น ถ้าชิพหมดก่อน ITM คือไม่ได้เงินเลย
- มีโอกาสเสียเงินต่อ 1 ทัวร์นาเมนต์ เท่ากับค่าสมัครแต่ละครั้งรวมกัน (ตกรอบแล้วสามารถสมัครกลับมาเล่นใหม่ได้) จนกว่าจะถึงเวลาปิดรับการสมัคร
- มีโอกาสทำกำไรแบบก้าวกระโดดมากกว่าค่าสมัครหลายเท่าตัว หากสามารถเข้ารอบได้ลึกๆ เช่น เข้า Final Table หรือคว้าแชมป์
- มีความผันผวนของกำไร/ขาดทุนในระยะสั้นมากกว่า Cash Game เพราะมีโอกาสต้องวัดดวงกับการ AII-In หรือ Call รับ All-In บ่อยทำให้มีโอกาส ITM ค่อนข้างยาก (โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 13%-15% ของจำนวนการสมัครทั้งหมด)
จากรูปแบบของเกมที่แตกต่างกัน ทำให้เราต้องมาเลือกว่า จะวางแผนการเล่นเพื่อทำกำไรจากเกมในรูปแบบไหนมากกว่ากันซึ่งมีหลายปัจจัยที่เราอาจจะนำมาใช้เพื่อตัดสินใจเลือกเล่นเกมที่เหมาะกับเราที่สุด ได้แก่
- ระยะเวลาที่เราสะดวกที่จะเล่น
ถ้าเราเป็นคนมีเวลาน้อย ไม่ค่อยต่อเนื่อง เราอาจจะควรเล่น Cash Game มากกว่า เพราะมีความคล่องตัวในการเล่นมากกว่า แต่ถ้าเรามีเวลาต่อวันมากพอ อย่างน้อย 3-6 ชั่วโมง เราอาจจะสามารถเล่น Tournament ได้ เพราะอาจจะต้องเผื่อเวลาในการเล่นกรณีที่เราสามารถเข้ารอบลึกๆได้เอาไว้ด้วย - ความชอบส่วนบุคคล
บางคนอาจจะชอบความสนุก ตื่นเต้น ลุ้นระทึกในการเล่น อยากมีชื่อเสียงหรือลุ้นได้รับรางวัลของการเป็นผู้ชนะ ก็อาจจะชอบการเล่นแบบ Tournament มากกว่า แต่บางคนไม่ชอบความหวือหวา ชอบการเล่นไปเรื่อยๆ ไม่ต้องแข่งกับใคร ก็อาจจะชอบ Cash Game มากกว่าก็ได้เช่นกัน - ลักษณะความเสี่ยงที่รับได้ของแต่ละคน
ความเสี่ยงในการขาดทุนของ Cash Game จะมีลักษณะที่อาจจะจังหวะที่โชคร้ายน้อยกว่า แต่ถ้าเจอ อาจจะมีโอกาสเสียเงินได้เป็นจำนวนมาก ในขณะที่ความเสี่ยงในการขาดทุนของ Tournament อาจจะเจอบ่อยกว่า แพ้เยอะกว่า แต่การแพ้ตกรอบแต่ละครั้งทำให้เราเสียเงินไม่มากนัก อยู่ที่ว่าเรารู้สึกรับกับความเสี่ยงลักษณะไหนได้ดีกว่ากัน - ลักษณะความสม่ำเสมอของกำไรที่ต้องการ
โอกาสในการทำกำไรของ Cash Game จะมีลักษะที่ค่อยเป็นค่อยไป ได้ทีละน้อย แต่ค่อยๆสะสมให้โตขึ้นเรื่อยๆได้ ขณะที่ Tournament จะมีโอกาสทำกำไรแบบก้าวกระโดดมากกว่า หากสามารถเป็นแชมป์ หรือจบอันดับต้นๆได้ แต่ระหว่างทางก็จะขาดทุนบ่อยและทำกำไรได้น้อย นานๆทีถึงจะมีโอกาสกำไรเด้งที จึงอยู่ที่ว่า เราต้องการกำไรแบบไหน หากต้องการกำไรที่ค่อนข้างสม่ำเสมอ พอจะวางแผนได้ Cash Game ก็อาจจะตอบโจทย์มากกว่า แต่ถ้าต้องการกำไรแบบก้าวกระโดด หรือเปลี่ยนชีวิตได้ ถ้าโชคดีมากพอ ก็อาจจะเหมาะกับการลองเสี่ยงกับ Tournament ดูมากกว่าหลังจากที่เราตัดสินใจได้แล้วว่าจะเล่น Cash Game หรือ Tournament เป็นหลัก ต่อมาเราก็ต้องมาเลือกระดับของเกมที่เราจะเล่น ซึ่งสำหรับมือใหม่ เราอยากแนะนำให้เริ่มจากเกมระดับต่ำสุดที่แพลตฟอร์มผู้ให้บริการมีให้เลือกเล่นก่อน เช่น สำหรับ Cash Game อาจจะเป็นเกมระดับ $0.01/$0.02 โดย Buy-In ครั้งละ 100bb หรือเท่ากับ 100bb x $0.02 = $2 สำหรับ Tournament อาจจะเป็นทัวร์นาเมนต์ที่มีค่าสมัคร $1 หรือ $3 เป็นต้น
แต่สำหรับคนที่มีความรู้และประสบการณ์มาบ้าง เราอาจจะสามารถเล่นเกมในระดับที่สูงกว่านั้นได้ แต่ก็ควรจะสอดคล้องกับ Bankroll ที่เราเตรียมมา ซึ่งเบื้องต้น ขอแนะนำให้มี Bankroll ประมาณ 40-50 Buy-In ขึ้นไป สำหรับ Cash Game และ 80-100 Buy-In ขึ้นไป สำหรับ Tournament เนื่องจากมีความผันผวนสูงกว่า
เช่น เรามี Bankroll 10,000 บาท ถ้าจะเตรียมไว้เพื่อเล่น Cash Game ก็ควรเล่นเกมที่ระดับ Buy-In ครั้งละไม่เกิน 10,000 / 50 = 200 บาท หรือประมาณ $5 ซึ่งก็คือ 100bb ของเกมระดับ $0.02/$0.05 นั่นเอง หากเตรียมไว้สำหรับ Tournament ก็ควรเล่นเกมที่ระดับ Buy-In ครั้งละไม่เกิน 10,000 / 100 = 100 บาท หรือประมาณ $3 เป็นต้น
เราควรจะตั้งเป้าหมายในการเล่นอย่างไร?
คำแนะนำของเราสำหรับการตั้งเป้าหมายในการเล่นโป๊กเกอร์เงินจริงก็คือ เราไม่ควรตั้งเป้าโดยใช้ผลลัพธ์เป็นเป้าหมายของการเล่น เช่น อยากเล่นให้ได้กำไรวันละ/เดือนละกี่บาท หรือ ตั้งเป้าจะเป็นแชมป์ทุกทัวร์นาเมนต์ เพราะผลลัพธ์ในระยะสั้น เป็นสิ่งที่เราไม่สามารถควบคุมได้ และยังมีเรื่องของโชคและดวงเข้ามาเกี่ยวข้องเยอะ นอกจากฝีมือการเล่นของเราเอง
ดังนั้น เป้าหมายที่สามารถตั้งได้ จึงควรเป็นเป้าหมายที่เราสามารถควบคุม และวัดผลได้ ซึ่งส่วนใหญ่คือเป้าหมายเชิงกระบวนการ มากกว่าผลลัพธ์ เช่น :
จะเล่นให้ครบ 30,000 แฮนด์ใน 1 เดือน
จะเล่นให้ครบ 30 ทัวร์นาเมนต์ใน 1 เดือน
จะเล่นสัปดาห์ละ 5 วัน และ ศึกษา 1 วัน
จะเล่นวันละ 3 session session ละ 2 ชั่วโมง เป็นต้น
เราควรบริหาร Bankroll ในช่วง Downswing อย่างไร?
ช่วง Downswing คือช่วงที่อาจจะทั้งเจอโชคร้ายอย่างต่อเนื่อง เช่น ไม่มีแฮนด์ดีๆให้เล่นเลย, มีแฮนด์ที่ดีแล้ว แต่เจอคู่ต่อสู้มีแฮนด์ที่ดีกว่า หรือมีแฮนด์ที่ดี แต่เจอคู่ต่อสู้พลิกกลับมาชนะได้ที่ Turn หรือ River บ่อยๆ รวมไปถึง อาจจะมีบางแฮนด์ที่เราเล่นแย่ เล่นผิดพลาดเองด้วย ทำให้ผลการเช่นของเราขาดทุนอย่างหนัก หรือต่อเนื่อง (หรือทััง 2 อย่าง) เช่น อยู่ในภาวะแบบนี้ในช่วง 10,000-20,000 แฮนด์ หรือ สูญเสีย Bankroll ไปมากกว่า 10-20 Buy-In ติดๆกัน เป็นต้น
หากเราเตรียม Bankroll มาไม่มากพอ หรือแก้ปัญหาในช่วง Downswing อย่างผิดๆ เช่น ไปเล่นเกมในระดับที่ Buy-In สูงขึ้น โดยหวังจะทำกำไรกลับมาได้มากๆเร็วๆ เพื่อมาชดเชยกับผลขาดทุน ก็ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงที่ Bankroll เราอาจจะยิ่งลดต่ำลงกว่าเดิม หรือถึงขั้นที่เรียกว่า “Bankroll แตก” ด้วยการสูญเสียเงินทั้งหมดที่เตรียมมาเล่นได้
เพื่อที่จะลดโอกาส หรือหลีกเลี่ยงภาวะดังกล่าว เราจึงจำเป็นต้องใช้วิธีบริหารความเสี่ยง (Risk Management) เข้ามาช่วย ได้แก่ การกำหนดผลขาดทุนสูงสุด และการลดระดับเกมที่เล่นลง
- การกำหนดผลขาดทุนสูงสุด (Cut Loss)
คือ การที่เรากำหนดกับตัวเองไว้ว่า ใน 1 วัน หรือ 1 session การเล่น เราจะยอมให้มีการขาดทุนมากที่สุดได้ไม่เกินเท่าไหร่ หากถึงระดับนั้น เราจะหยุดเล่นวันนั้น หรือ session นั้นทันที ซึ่งเราควรจะกำหนดจุดที่จะ Cut Loss ไว้กว้างระดับหนึ่ง แบบที่รู้สึกว่า ไม่ต่ำไปจนต้องหยุดเล่นบ่อย และไม่สูงไปจนเสียเงินจำนวนมากไป เช่น อาจจะอยู่ในช่วง 2-3 Buy-In ต่อ 1 วัน หรือ 1 session เป็นต้นแม้การ Cut Loss อาจจะไม่ได้ทำให้ผลขาดทุนหยุดไปอย่างถาวรได้ (เพราะวันใหม่ หรือ session ใหม่ ก็ยังมีโอกาสกลับมาขาดทุนต่อได้) แต่อย่างน้อย มันก็คือการช่วยเบรคการเล่นของเราไว้ ให้เราได้พัก ตั้งสติ ผ่อนคลายอารมณ์ ลดความเสี่ยงจากการที่เราอาจจะเริ่มหงุดหงิด หัวร้อน (Tilt) แล้วเล่นต่อด้วยอารมณ์ความรู้สึกที่ไม่ดี สูญเสียความเฉียบคมในการตัดสินใจ จนอาจยิ่งทำให้เราเสียเงินเพิ่มขึ้นได้ มากกว่า
- การลดระดับเกมที่เล่นลง (Downsizing)
คือ การที่เราถอยมาเล่นเกมที่ระดับ Buy-In ต่ำลง อย่างน้อยครึ่งหนึ่ง ของระดับ Buy-In เดิมที่เล่นอยู่ เพื่อลดความเสี่ยงความผันผวนของผลขาดทุนลง (แต่ก็ต้องแลกมาด้วยโอกาสทำกำไรที่ลดลงเช่นกัน) เมื่อเราสูญเสีย Bankroll มากถึงจุดหนึ่ง เช่น 40-50% ของ Buy-In ทั้งหมดในขณะนั้น หากลดระดับของเกมลงแล้ว และเรายังสูญเสีย Bankroll ลงไปอีกอย่างต่อเนื่อง เราก็ต้องลดระดับเกมที่เล่นลงไปอีกเรื่อยๆ ด้วยวิธีนี้ แม้จะเจอ Downswing หนักขนาดไหน Bankroll เราก็จะไม่แตกอย่างแน่นอน (ยกเว้นจะไม่สามารถลดระดับของเกมที่เล่นลงได้อีก)ตัวอย่างเช่น เรามี Bankroll $1,000 เตรียมไว้เพื่อเล่น Cash Game 40 Buy-In หรือ Buy-In ละ $1,000/40 = $25 ซึ่งก็คือ 100bb ของเกมระดับ $0.25/$0.10
ต่อมา เราเจอช่วง Downswing ทำให้เสียไป 20 Buy-In หรือ $25 x -20 = -$500 ทำให้เหลือ Bankroll $500 หรือครึ่งหนึ่งของ Bankroll เริ่มต้น (เสีย Bankroll ไป -50%) เราจึงควรตัดสินใจ Downsizing โดยลดระดับเกมลงมา 1 ระดับ ไปเล่นเกมระดับ Stake $0.10/$0.05 หรือ Buy-In ครั้งละ 100bb คือ $0.10 x 100 = $10 ก็จะทำให้เราสามารถเล่นเกมในระดับนี้ได้ โดยมี Bankroll เท่ากับ $500/$10 = 50 Buy-In ของเกมระดับนี้ ทำให้เรากลับมารับความผันผวนได้ดีขึ้นนั่นเอง
เราสามารถเขยิบไปเล่นเกมที่ใหญ่ขึ้นได้เมื่อไหร่?
หากเราเล่นโป๊กเกอร์เงินจริง จนทำกำไรได้ระดับหนึ่ง หรือ เรา Downsizing ไปเล่นเกมระดับเล็กลง แล้วทำกำไรในเกมระดับนั้นฟื้นกลับมาได้ระดับหนึ่ง เราอาจจะเริ่มคิดถึงการขึ้นไป (หรือกลับขึ้นไป) เล่นเกมในระดับที่สูงขึ้น เพื่อเพิ่มโอกาสในการทำกำไรให้มากขึ้น แต่เราควรจะขึ้นไปเล่นเมื่อไหร่? คำแนะนำคือ เราควรจะขึ้นไปเล่นอย่างเต็มตัว เมื่อเรา “พร้อม” โดยพิจารณาจาก 3 ปัจจัยสำคัญคือ
- Bankroll พร้อม
Bankroll พร้อม คือเรามี Bankroll มาพอที่จะรับความผันผวนของเกมในระดับนั้นๆ ตามหลักการเตรียม Bankroll ให้เพียงพอกับเกมที่จะเล่น (อย่างน้อย 40-50 Buy-In ขึ้นไปสำหรับ Cash Game และ 80-100 Buy-In ขึ้นไป สำหรับ Tournament)ตัวอย่างเช่น เรามี Bankroll $1,000 เล่น Cash Game ใน Stake $0.25/$0.10 Buy-In ครั้งละ $25 มีทั้งหมด 40 Buy-In หากเราจะขึ้นไปเล่นเกมระดับถัดไปที่สูงขึ้น คือที่ Stake $0.50/$0.25 Buy-In ครั้งละ $50 เราต้องมี Bankroll อย่างน้อย 40 Buy-In หรือ $50 x 40 = $2,000 ถึงจะมี Bankroll พร้อมรับความเสี่ยงมากพอจะขึ้นไปเล่น เท่ากับว่า เราต้องปั้น Bankroll ให้โตขึ้นเท่าตัว จาก $1,000 ไป $2,000 ให้ได้ก่อนนั่นเอง
- ประสบการณ์พร้อม
ประสบการณ์พร้อม คือดูจากการที่เรามีจำนวนชั่วโมงบินมาพอในเกมระดับที่เราเล่นอยู่ ว่าเริ่มเชี่ยวชาญ ช่ำชอง มากพอยืนอยู่ได้อย่างแข็งแกร่ง หรือพร้อมจะขึ้นไปเล่นเกมที่ยากขึ้นแล้วหรือยัง เพราะบางครั้ง เราอาจจะโชคดี ทำกำไรได้เยอะอย่างรวดเร็ว ในระยะสั้นๆ จนทำให้ Bankroll เราเติบโตมากพอที่จะเล่นในเกมระดับสูงขึ้น แต่ประสบการณ์เราอาจจะยังไม่พร้อม เพราะเพิ่งเล่นระดับนั้นได้ไม่นาน มันยังไม่ได้พิสูจน์ว่าเราเก่งพอจริงๆ หรือแค่โชคดีกันแน่ เราจึงควรพิสูจน์ตัวเองก่อน โดยดูจาก “จำนวนแฮนด์สะสม” ในเกมระดับนั้น อย่างน้อยประมาณ 50,000-100,000 แฮนด์ขึ้นไป ว่าเราสามารถชนะ Stake นั้นด้วยความสามารถจริงๆ และพร้อมจะก้าวสู่ระดับต่อไปแล้ว - ความรู้ความสามารถพร้อม
นอกเหนือจาก Bankroll และจำนวนแฮนด์ที่ต้องมากพอแล้ว สิ่งสำคัญที่สุดคือ เราต้องมีฝีมือเก่งพอที่จะขึ้นไปเล่นเกมในระดับสูงขึ้น แล้วสามารถสู้คนอื่นใน Stake นั้นได้ด้วย เพราะโดยธรรมชาติของเกมโป๊กเกอร์ ยิ่งเล่นในเกมที่ Stake สูงขึ้น ค่าสมัครแพงขึ้น เราก็ย่อมเจอคนที่เก่งมากขึ้นไปเรื่อยๆ เจอมือใหม่น้อยลงเรื่อยๆ ทำให้ความยากของเกมก็จะยิ่งสูงขึ้นเรื่อยๆดังนั้น เราอาจจะต้องสำรวจตัวเองก่อนว่า เราสามารถทำกำไรเฉลี่ยในเกมระดับปัจจุบันที่เล่นอยู่ได้ ในจำนวนแฮนด์ที่มากพอแล้วหรือไม่ รวมถึง เรามีความรู้ความเข้าใจในเกมโป๊กเกอร์ที่เพิ่มมากขึ้นแล้วหรือยัง หากมั่นใจในระดับหนึ่ง และมี Bankroll ที่มากเพียงพอ เราอาจจะลองขึ้นไปเล่นในเกมที่สูงขึ้น หรือที่เรียกว่าการ “Take Shot” ดูได้ เพื่อลองดูว่า เราสามารถพอจะรับมือกับเกมที่ยากขึ้นได้หรือไม่ หากพอไหว เราอาจจะสามารถลองเล่นไปยาวๆ แต่ถ้าไม่ไหว หรือไม่สามารถทำกำไรสม่ำเสมอได้เหมือนเกมระดับเดิมที่เคยเล่นอยู่ได้ เราอาจจะต้องยอมถอยกลับมาเล่นระดับเดิม เพื่อศึกษาและฝึกฝน พัฒนาฝีมือให้เก่งขึ้นก่อน ค่อยลองกลับขึ้นไปเล่นอีกครั้ง เมื่อเราเก่งขึ้นกว่าเดิมก็ยังไม่สาย
เราควรแบ่งกำไรมาใช้หรือเก็บสะสมไว้ยังไงดี?
หากเราเป็นผู้เล่นที่สามารถทำกำไรในระดับของเกมที่เล่นอยู่ได้อย่างยั่งยืนแล้ว เราอาจจะเริ่มคิดว่า ควรจะบริหารจัดการกำไรที่ได้จากการเล่นอย่างไรดี ระหว่างการถอนออกมาใช้จ่าย หรือเอาไปเก็บ เอาไปลงทุนต่อในเครื่องมืออื่น หรือคงไว้ใน Bankroll เพื่อสะสมไว้เรื่อยๆให้ Bankroll เติบโตขึ้นเรื่อยๆดี ในประเด็นนี้ เราก็อาจจะต้องประเมินตัวเองดู ระหว่าง :
- เรามีความจำเป็นต้องนำกำไรจากโป๊กเกอร์ไปช่วยเหลือเป็นค่าใช้จ่ายในชีวิตหรือไม่ มากน้อยแค่ไหน? หากเรามีความจำเป็นต้องนำไปเป็นค่าใช้จ่าย เราก็อาจจะแบ่งกำไรส่วนหนึ่ง หรือทั้งหมด ไปเป็นค่าใช้จ่ายในชีวิต แต่หากทำแบบนี้ Bankroll เราก็จะยังคงเดิม ไม่มีการเติบโต ทำให้เราไม่สามารถขึ้นไปเล่นเกมในระดับที่สูงขึ้นได้
- เรามีเป้าหมายต้องการปั้น Bankroll ให้เติบโต เพื่อขึ้นไปเล่นเกมที่สูงขึ้นไปเรื่อยๆหรือไม่ มากน้อยแค่ไหน? หากเราอยากปั้น Bankroll เราก็จำเป็นต้องเก็บสะสมกำไรทั้งหมด หรือส่วนใหญ่ ไว้ใน Bankroll เพื่อให้ Bankroll เติบโตจนมีจำนวนเงินมาพอที่จะขึ้นไปเล่นเกมที่ใหญ่ขึ้นได้ ซึ่งก็จะมีประโยชน์ตรงที่ มันเพิ่มโอกาสให้เรายิ่งทำกำไรในจำนวนเงินที่สูงขึ้นได้ในอนาคตไปเรื่อยๆ แต่เราก็จะเสียโอกาสนำกำไรดังกล่าวมาใช้จ่าย จึงเหมาะกับคนที่ไม่มีความจำเป็นต้องการรายได้จากโป๊กเกอร์ และมุ่งไปที่การปั้น Bankroll เพื่อเพิ่มมูลค่าทรัพย์สินของตัวเองเป็นหลัก
และนั่นคือกลยุทธ์ทั้งหมดในการบริหาร Bankroll ที่เราขอแนะนำ เพื่อให้ทุกคนสามารถเล่นโป๊กเกอร์เงินจริงได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน รวมถึงโอกาสในการปั้น Bankroll ให้เติบโตขึ้นไปได้เรื่อยๆอย่างมืออาชีพ หากเราสามารถรักษาวินัย และความอดทน ในการปฏิบัติตามแผนที่วางไว้ได้อย่างเคร่งครัด ก็สามารถมั่นใจได้เลยว่า เราจะสามารถเล่นโป๊กเกอร์ในระยะยาวได้อย่างแข็งแกร่งอย่างแน่นอน