เทคนิคการเล่นเท็กซัส โฮลเดม ฉบับมือโปร

เทคนิคการเล่นเท็กซัส โฮลเดม ฉบับมือโปร

เทคนิคการเล่นเท็กซัส โฮลเดม ฉบับมือโปร

การเล่นโป๊กเกอร์ให้ประสบความสำเร็จในระยะยาวนั้น มีอยู่หลายเรื่องที่เราต้องเรียนรู้และเข้าใจถึงผลกระทบของแต่ละปัจจัยที่มีผลต่อเกม เช่น เรื่องตำแหน่ง, action, bet size, ลักษณะของไพ่บนบอร์ด รวมไปถึง การบริหารเงินทุนการเล่น นอกเหนือจากแค่ไพ่ 2 ใบบนมือ ดังนั้น ในบทความนี้ เราจึงมาแนะนำเทคนิคการเล่น Poker โดยใช้ปัจจัยด้านต่างๆ ทั้ง 5 ด้านในการวิเคราะห์ เพื่อให้เราสามารถเล่นได้ไม่แพ้มือโปรกัน พร้อมแล้ว ตามมาดูดันได้เลย

หัวข้อต่างๆ

เทคนิคการเล่นโดยใช้ตำแหน่ง

ตำแหน่งหรือ Position ถือเป็น ปัจจัยที่มีความสำคัญลำดับต้นๆในเกมโป๊กเกอร์ จนบางคนกล่าวว่า “Position is king” หรือตำแหน่งคือราชาในเกมโป๊กเกอร์กันเลยทีเดียว เนื่องจาก ถ้าเราอยู่ในตำแหน่งที่ได้ตัดสินใจทีหลัง หรือเป็นคนท้ายๆ เราจะได้เปรียบอย่างมหาศาล จากการที่ได้เห็นข้อมูลการเล่นของผู้เล่นทุกคนก่อนหน้า ทำให้สามารถเลือกกลยุทธ์ตอบโต้ได้ดีกว่าคนที่ต้องตัดสินใจก่อน
ซึ่งแต่ละตำแหน่งบนโต๊ะโป๊กเกอร์ ก็มีชื่อเรียกแตกต่างกันไป แต่เราสามารถแบ่งกลุ่มของตำแหน่งออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่

  • ตำแหน่งต้น หรือ Early Position (EP)​ ได้แก่ Under The Gun (UTG), UTG+1 หรือ UTG+2
  • ตำแหน่งกลาง หรือ Middle Position (MP)​ ได้แก่ Lo-Jack (LJ)​ และ Hi-Jack (HJ)​
  • ตำแหน่งท้าย หรือ Late Position (LP)​ ได้แก่ Cut-Off (CO)​ และ Button (BTN)​
  • ตำแหน่งบลาย (Blinds)​ ได้แก่ Small Blind (SB)​ และ Big Blind (BB)​

นอกจากนี้ เรายังอาจแบ่งประเภทของตำแหน่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ ตำแหน่งที่ต้องตัดสินใจก่อนเสมอ หรือ Out of Position (OOP)​ และ ตำแหน่งที่ได้ตัดสินใจทีหลังเสมอ หรือ In Position (IP)​ ไม่ว่าจะเป็นการเล่นที่ตำแหน่งใดในข้างต้นเจอกันก็ตาม

สำหรับหลักการหรือเทคนิคการเล่นโดยใช้ตำแหน่งให้เกิดประโยชน์สูงสุด ที่เราขอแนะนำ มีดังนี้

  1. ยิ่งอยู่ในตำแหน่งแรกๆ ควรเล่นไพ่ที่ค่อนข้างแข็งแกร่งไว้ก่อน เพื่อชดเชยความเสียเปรียบด้านตำแหน่ง และสามารถเล่นไพ่ที่กว้างขึ้นได้ เมื่อเราอยู่เมื่อเราอยู่ตำแหน่งท้ายๆ และตำแหน่งก่อนหน้า Fold ไปแล้ว
  2. ตำแหน่งติดกันตำแหน่งแรกๆ หากมีคน Open Raise ก่อนหน้า ควรเลือกเล่นด้วยวิธี Raise/Fold เป็นหลัก มากกว่าแค่ Call เพื่อลดโอกาสที่จะมีตำแหน่งด้านหลัง Call มาเล่นตามหลายคน แล้วจะทำให้เราเล่นยากขึ้น หากไพ่เราดีพอ ให้เรา 3Bet ไปเลย และถ้าเป็นไพ่กลางๆหรือไพ่ Offsuited ที่ไม่ดีมาก ให้ Fold ไปเลยดีกว่า จะเล่นง่ายขึ้น เช่น UTG open เรามี AQo หรือ KQo ให้ 3Bet จะดีกว่าแค่ Call
  3. หากเราอยู่ LP แล้ว EP หรือ MP Open Raise มา เราสามารถ Call ไปเล่นได้มากขึ้น กับแฮนด์กลุ่ม Pocket Pair, Suited Connector หรือ ไพ่ Offsuited ที่ค่อนข้างดี เนื่องจากเหลือผู้เล่นข้างหลังน้อยลง และเรามีโอกาส IP เมื่อต้องเล่น Postflop ให้ความได้เปรียบด้านตำแหน่ง ชดเชยกับเรื่องความแข็งแกร่งของไพ่ที่เล่นได้
  4. BB เป็นตำแหน่งที่ Call ไปเล่นได้กว้างที่สุด เนื่องจากถูกบังคับลงชิพไป 1 BB แล้ว ทำให้ถ้ามีคน Open Raise มา สามารถ Call ไปเล่นได้ในราคาที่ถูกกว่าตำแหน่งอื่น และเรายังต้อง Call ไปเล่นเพื่อ Defend Blind หรือปกป้อง Blind ที่เราถูกบังคับลงชิพไปแล้ว บ่อยขึ้น จากการพยายามขโมยบลายของตำแหน่งอื่นๆ
  5. หากเราต้องเล่น OOP ตอน Postflop ต้องเล่นด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะเราเสียเปรียบด้านตำแหน่ง ถ้าเราเป็นคน Open Raise ก่อน ให้ลดการ CBet Bluff ลงกับไพ่ดีๆ ที่ยังไม่ติดอะไร (เช่น AKo บนบอร์ด Q76)​ แล้วเล่น Check Call แทน เน้น CBet กับ Value Hand ที่ต้องการการปกป้องจาก Overcard บนบอร์ดที่ไม่ค่อยอันตรายเป็นหลัก เช่น CBet JJ บนบอร์ด T53 เป็นต้น
  6. หากเราได้เล่น IP ตอน Postflop เราจะมีโอกาส Bluff ได้มากขึ้น เพราะสามารถทำให้ OOP ต้อง Check/Fold กับไพ่ใหญ่ที่ยังไม่ติดอะไร บนบอร์ดตัวเลขได้มากขึ้น รวมถึง อาจจะเลือก Check Back กับแฮนด์ที่มี Showdown แล้วไม่อยาก Bluff เพื่อได้เห็นไพ่ที่ Turn หรือ River ฟรีๆ ที่อาจจะช่วยพัฒนาแฮนด์เราได้อีก เช่น Check Back กับ KQo บนบอร์ด T96 เป็นต้น

เทคนิคการอ่านไพ่คู่ต่อสู้

การอ่านไพ่ของคู่ต่อสู้ได้ราวกับตาเห็น คงเป็นเรื่องที่ทุกคนอยากทำได้ เพราะหากเรารู้ว่าคู่แข่งถือไพ่อะไร เราคงมีโอกาสชนะสูงขึ้นมาก แต่น่าเสียดายที่ในการเล่นจริง เราไม่สามารถ (และไม่ควร)​ ไปตัดสิน หรือระบุอย่างเฉพาะเจาะจงไปว่า คู่แข่งจะต้องถือไพ่อะไรแน่นอน เนื่องจากมีโอกาสสูงที่ในสถานการณ์หนึ่งๆ คู่แข่งอาจจะเล่นแบบนั้นกับแฮนด์ต่างๆได้หลายแฮนด์ก็ได้ เพราะฉะนั้น เราอาจจะทำได้ดีที่สุดแค่เพียงพอจะอ่านได้ว่า คู่แข่งน่าจะเล่นแบบนั้นกับ “กลุ่มของแฮนด์” อะไรได้บ้าง หรือที่เรียกว่า การวิเคราะห์หา “Range” ของคู่ต่อสู้ นั่นเอง
วิธีที่เราอาจจะพอตีกรอบ Range ของคู่ต่อสู้ และประเมินว่า น่าจะเป็นแฮนด์กลุ่มไหน อาจจะมีอยู่ด้วยกันบางวิธี ดังนี่

  1. การวิเคราะห์ Range จาก Tells
    Tells คืออากัปกิริยาของผู้เล่น หากเป็นการแสดงออกทางร่างกาย หรือ Physical Tell เราอาจสังเกตจากท่าทางว่า หากผู้เล่น แสดงท่าทางที่มั่นใจ หรือดูผ่อนคลาย เช่น เอนหลัง, นั่งไขว่ห้าง ก็มีโอกาสที่คู่แข่งจะถือไพ่ที่แข็งแกร่งมากๆอยู่ จนไม่ต้องกังวลว่าจะแพ้ แต่หากคู่แข่งมีท่าทางที่กังวล หรือไม่มั่นใจ เช่น กอดอก, เกาหน้า, กลืนน้ำลายบ่อยๆ ก็อาจเป็นไปได้ว่า คู่แข่งอาจจะกำลังบลัฟ หรือไม่มั่นใจในไพ่ตัวเอง เป็นต้น
    นอกจากนั้น เราอาจจะยังสังเกต Tells ได้จากการใช้เวลาในการเล่น หรือ Timing Tells ของคู่ต่อสู้ได้ว่า หากคู่ต่อสู้ตัดสินใจเล่นไม่นาน เช่น Bet อย่างรวดเร็ว หรือ Call อย่างรวดเร็ว ก็เป็นไปได้ว่า คู่แข่งอาจจะถือไพ่ที่ค่อนข้างดี ไม่อาจจะไม่ได้แฮนด์ที่แข็งแกร่งมากๆ เนื่องจากเป็นกลุ่มของแฮนด์ที่ตัดสินใจไม่ยากว่าจะต้อง Bet หรือเล่นต่ออยู่แล้ว จึงตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว เพราะหากคู่ต่อสู้มีแฮนด์ที่แข็งแกร่งมากๆ หรือแฮนด์ที่ยากจะบลัฟ อาจจะต้องใช้เวลาในการคิดพอสมควร ว่าจะบลัฟดีหรือไม่ หรือต้อง Bet เท่าไหร่ จึงจะทำให้คู่ต่อสู้หมอบ หรือกินชิพจากคู่ต่อสู้ได้มากที่สุด เป็นต้น
  2. การวิเคราะห์ Range จาก Action
    Action ที่คู่แข่งเลือกใช้ จะเป็นปัจจัยหนึ่งที่พอจะบอกได้เช่นกันว่า Range ของคู่แข่งน่าจะเป็นแฮนด์กลุ่มไหน โดยที่ หากคู่แข่งเลือกที่จะ Check บ่อยๆ ก็อาจจะแปลได้ว่า Range ของคู่แข่งน่าจะเป็น “Capped Range” หรือ Range ที่แทบไม่มีแฮนด์ที่แข็งแกร่งอยู่เลย ซึ่งอาจจะเป็นไพ่กลางๆ อย่าง Ax หรือ Kx หรือ Pair เล็กๆกลางๆอย่าง Bottom Pair / Middle Pair ก็เป็นได้ เพราะแฮนด์กลุ่มนี้ จะไม่อยาก Bet เพื่อทำให้ Pot ใหญ่ แต่อยาก Check เพื่อให้ได้ Showdown ในราคาไม่แพงมากกว่า
    ขณะเดียวกัน การ Bet / Raise ก็มักแสดงว่า Range คู่แข่ง มักจะเป็นแฮนด์ที่แข็งแกร่ง หรือไม่ก็อาจจะเป็นบลัฟก็ได้ ซึ่งที่ Flop คู่แข่งก็อาจจะมียัง Bluff อยู่มาก Range ของคู่แข่งจึงยังกว้างอยู่ และโดยปกติ บลัฟของคู่แข่ง เมื่อเทียบกับ Value Bet จะมีสัดส่วนลดลงเรื่อยๆ เมื่อเราเล่นไปถึง Turn และ River นั่นแปลว่า โดยส่วนใหญ่ ที่ River คู่แข่งมักจะมีโอกาสที่จะมีบลัฟน้อย โดยเฉพาะหากคู่แข่ง Raise หรือ Check-Raise ใส่เราที่ River นั้น มักจะเป็นแฮนด์ที่แข็งแกร่งจริงๆมากกว่า
  3. การวิเคราะห์ Range จาก Bet Size
    Bet Size เองก็สามารถสะท้อนถึง Range ของคู่แข่งได้เช่นกัน แต่ก็เป็นปัจจัยที่ต้องพิจารณาควบคู่ไปกับ Board Texture หรือลักษณะของไพ่บนกองกลางบนบอร์ดร่วมด้วย โดยที่ ถ้าคู่แข่งใช้ Bet Size เล็กๆบ่อยๆ ก็อาจเป็นไปได้ว่าแฮนด์ของคู่แข่งจะเป็นแฮนด์กลุ่มที่มีความแข็งแกร่งกลางๆ เช่น Top Pair Kicker เล็กๆกลางๆ หรือ Mid Pair เป็นต้น หรืออาจจะเป็นการที่คู่แข่ง Blocking Bet ด้วย Bet Size ประมาณ 10-25% Pot ที่ River บนบอร์ดที่อันตราย เช่น บอร์ด Complete Staight / Flush ซึ่งคู่แข่งมันจะเล่นแบบนี้กับแฮนด์ที่อาจจะไม่ได้แข็งแกร่งกว่า 2 Pair ขึ้นไป เช่น อาจจะมี Top Pair ซึ่งไม่ได้แข็งแกร่งมากในบอร์ดนี้ แต่ยังอยาก Bet เล็กเพื่อหา Value กับ Top Pair ที่ Kicker แย่กว่า หรือ Middle Pair เป็นต้น

    ในทางตรงกันข้าม หากคู่แข่ง Bet ใหญ่บ่อยๆ, Bet ใหญ่มากๆ หรือ All In ที่ River ก็เป็นไปได้ว่า Range ของคู่แข่ง น่าจะเป็น “Polarized Range” หรือ Range ที่ประกอบไปด้วยแฮนด์ที่แข็งแกร่งมากๆ หรือไม่ก็เป็น Bluff ไปเลยเท่านั้น ไม่มีแฮนด์กลางๆที่จะเล่นแบบนี้อย่างแน่นอน ทำให้ถ้าเราไม่ได้มีแฮนด์ที่แข็งแกร่งมาก มันก็จะเป็นได้แค่แฮนด์จับบลัฟเท่านั้น

เทคนิคการเล่นในสถานการณ์ต่างๆ

สถานการณ์เหล่านี้ เป็นสถานการณ์ทั่วไปที่เราสามารถเจอได้เสมอในการเล่นโป๊กเกอร์ ดังนั้น เมื่อเจอสถานการณ์ดังกล่าว เราจึงควรรู้หลักการการเล่นเบื้องต้นเอาไว้ เพื่อให้เราสามารถรับมือได้อย่างถูกต้องมากขึ้น ดังนี้ :

  • วิธีเล่น เมื่อเรามี Value Hand ที่แข็งแกร่ง
    เมื่อเรามีแฮนด์ที่แข็งแกร่ง เช่น Overpair ใหญ่ๆ อย่าง Pocket QQ-AA หรือ 2-Pair ขึ้นไป เราควรที่จะ Bet ใหญ่ และ Bet อย่างต่อเนื่อง หากบอร์ดไม่อันตราย แต่หากบอร์ดอันตราย เช่น บอร์ดที่มี Flush Draw แล้วไพ่ของเราไม่มีดอกที่เป็น Flush Draw นั้น หรือเป็นบอร์ด Complete Straight / Flush เราจะต้องระมัดระวังมากขึ้น โดยอาจจะ Bet เล็กลง หรือ Check ถ้าหากแฮนด์ของเราพัฒนาได้ยาก แต่หากแฮนด์เราค่อนข้างแข็งแกร่งตั้งแต่ Set ขึ้นไป หรือมีโอกาสพัฒนาได้อีก (เช่น Top 2-Pair และ Set ที่พัฒนาเป็น Fullhouse ได้ หรือ Straight ที่พัฒนาเป็น Flush ได้) เราอาจจะสามารถ Bet ใหญ่ และบ่อยขึ้นได้
  • วิธีเล่น เมื่อเรามี Pair กลางหรือเล็ก
    แฮนด์ที่มีความแข็งแกร่งกลางๆ จะมีสถานะเป็นเพียงแค่แฮนด์จับบลัฟ (Bluff Catcher) เท่านั้น เนื่องจากแทบไม่มีโอกาสจะทำกำไรจากแฮนด์ที่แย่กว่าได้มากเท่าไหร่ ดังนั้น เราจึงควรเล่นด้วยความระมัดระวังที่สุด โดยการ Check-Call หากคิดว่า สถานการณ์ยังดี หรือคู่แข่งยังมีโอกาสบลัฟได้มาก หรือ Check-Fold หากคิดว่า แย่เกินไปที่จะเอาไปจับบลัฟต่อ เป้าหมายของแฮนด์กลางๆคือ พยายามไป Showdown ในราคาที่ถูกที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
  • วิธีเล่น เมื่อเรามี Draw
    หลายคนไม่แน่ใจเวลาที่ตัวเองมี Draw ไม่ว่าจะ Straight หรือ Flush Draw ว่า ควรจะเล่นอย่างไรกันแน่ บางคนก็เอาทุกแฮนด์ที่เป็น Draw ไปบลัฟหมด บางคนก็มีแต่ Call อย่างเดียว แต่แนวทางการเล่นที่เหมาะสมกับ Draw แต่ละประเภทที่เราอยากแนะนำ มีดังนี้
    • Flush Draw : ส่วนใหญ่เราจะเน้น Call กับ Flush เป็นหลัก เพราะเป็น Draw ที่เรามีโอกาสติดได้สูงที่สุด ยกเว้น เราอาจจะมี Draw อื่นร่วมด้วยกับ Flush Draw เช่น Straight Draw หรือ Backdoor Straight Draw แฮนด์กลุ่มนี้เรามักจะอยาก Bet/Raise มากขึ้น
    • Straight Draw : ส่วนใหญ่เราจะ Call กับ Straight Draw ไม่ว่าจะ Gutshot หรือ Open-Ended หากเรามีไพ่ใหญ่ ตั้งแต่ Q ขึ้นไป และเป็น Overcard เพราะยังมีโอกาสพัฒนาไปติดคู่ที่ค่อนข้างดีได้ แต่หากเรามี Draw เป็นไพ่เล็กกว่านั้น ส่วนใหญ่เราจะเน้นเล่นเป็นบลัฟแทน เพราะโอกาสชนะน้อยกว่า แม้จะติดคู่ที่หลัง
    • Backdoor Draw : เช่นกัน เรามักจะ Call กับ Backdoor Draw ที่มีทั้ง Straight + Flush เป็นหลักถ้าเรามีไพ่ใหญ่ตั้งแต่ Q ขึ้นไป แต่หากเราเป็นไพ่เล็กและมี Backdoor Draw ทั้ง Straight และ Flush เรามักจะนำมาเป็นบลัฟมากกว่า
  • วิธีเล่น เมื่อเราไม่ติดอะไร
    เมื่อเราไม่ติดอะไร เราจะเริ่มพิจารณาว่า เราควรจะนำแฮนด์ของเรามาบลัฟดีหรือไม่ แต่หลักการคือ ถ้าแฮนด์ของเรายังมีโอกาส Call ไปแล้วติด Pair ที่ใหญ่พอจะชนะได้ เช่นคู่ Q ขึ้นไป เราจะอยาก Call ไปเล่นต่อกับไพ่ใหญ่ที่ยังไม่ติดอะไรเหล่านี้ มากกว่าจะเอามาเป็นบลัฟ โดยเฉพาะถ้าเรามี Backdoor Straight แต่ถ้าไพ่เราเริ่มเล็ก และมีโอกาสแพ้ ต่อให้เราติด Pair ภายหลัง เราจะเริ่มอยากจะเอามาบลัฟมากขึ้น ซึ่งแนวทางที่จะบลัฟจะอยู่ในหัวข้อถัดไป

เทคนิคการบลัฟและการจับบลัฟ

การบลัฟ เป็นของที่อยู่คู่กับการเล่นโป๊กเกอร์เสมอ เพราะหากเรา Bet แต่เมื่อเรามีแฮนด์ที่ดี ก็แปลว่า ทุกครั้งที่เรา Check เราจะมีแฮนด์ที่ไม่ค่อยดีอย่างแน่นอน ทำให้คู่ต่อสู้อาจจะโจมตีจุดอ่อนเราได้ เราจึงต้องมีบลัฟ โดยวิเคราะห์ว่า ไพ่แบบไหนที่เหมาะกับจะเอามาบลัฟ เพื่อทำให้ Range ในการ Bet ของเราบาลานซ์ หรือมีความสมดุลมากพอ จนทำให้คู่แข่งไม่แน่ใจว่า เรามีไพ่ที่แข็งแกร่งจริง หรือกำลังบลัฟอยู่กันแน่

ขณะเดียวกัน หากเราเชื่อว่า คู่แข่งก็ย่อมจะมีบลัฟเช่นเดียวกัน ก็เป็นหน้าที่ของเราที่จะต้องหากลยุทธ์มาใช้เพื่อวิเคราะห์ว่า คู่แข่งกำลังบลัฟอยู่หรือไม่ มีโอกาสบลัฟแค่ไหน กับแฮนด์กลุ่มไหนได้บ้าง และแฮนด์ของเรา เหมาะจะนำมาจับบลัฟหรือไม่ ซึ่งหลักคิดพื้นฐานในการบลัฟและการจับบลัฟ จะมีดังนี้

  • โอกาสที่เราพิจารณาว่าจะบลัฟ
    1. เมื่อแฮนด์เราไม่มี Showdown Value
      Showdown Value คือความแข็งแกร่งของไพ่ที่มากพอที่เราเชื่อว่า เมื่อต้อง Showdown แล้วน่าจะชนะ หรืออย่างหน่อย Check เพื่อ Showdown แล้ว อาจจะยังมีโอกาสชนะแฮนด์บางแฮนด์ของคู่แข่งได้ โดยมาก มักจะเป็นแฮนด์กลางๆอย่าง Top Pair Kicker เล็กๆลงไป จนถึง Pair เล็กๆ หรือกระทั่ง Ax และ Kx ที่ไม่ติดอะไรก็ตาม (เพราะอาจจะยังมีโอกาสชนะ Qx หรือ Jx ที่ไม่ติดอะไร แล้ว Check มาเรื่อยๆได้) แฮนด์กลุ่มนี้ เราอาจจะไม่จำเป็นต้องบลัฟ เพราะเรายังพอจะมีโอกาสชนะอยู่บ้าง
      แต่หากเราคิดว่า แฮนด์ของเรา ถ้า Showdown ไปแล้ว โอกาสชนะน้อยมาก หรือน่าจะแพ้แน่ๆ นั่นแสดงว่า แฮนด์เราไม่มี Showdown Value เราจึงอาจจะต้องเริ่มคิดถึงการนำแฮนด์เหล่านี้มาบลัฟ เพื่อให้แฮนด์ที่ดีกว่าของคู่แข่งยอมหมอบได้ แต่ไม่ได้แปลว่า เราจะนำทุกแฮนด์ที่ไม่มี Showdown Value มาบลัฟทั้งหมด ต้องพิจารณาร่วมกับปัจจัยในข้ออื่นๆ อีก
    2. เมื่อแฮนด์เรามีไพ่ที่เป็น Blocker
      Blocker คือ ไพ่ที่มีโอกาสไปลดโอกาสที่คู่แข่งจะ Call กับ Draw หรือ Value Hand ทำให้เพิ่มโอกาสที่คู่แข่งจะหมอบให้กับบลัฟของเราได้มากขึ้น ดังนั้น เวลาเราจะบลัฟ เราจึงควรเลือกไพ่ที่มี Blocker ดีๆ เป็นหลัก ตัวอย่างเช่น บอร์ดเป็น KT862 เราอาจจะสามารถบลัฟจนสุดได้กับแฮนด์อย่าง J7 เพราะเรามี Blocker ที่ดีทั้ง J และ 7 โดย J บล็อคโอกาสที่คู่แข่งจะถือ QJ, KJ, TJ, J8 และ 7 บล็อคโอกาสที่คู่แข่งจะถือ 97 หรือ K7 ที่จะ Call มาเล่นต่อกับเราได้ เป็นต้น
    3. เมื่อคู่แข่งเป็น Capped Range
      การที่คู่แข่งมี Capped Range จากการที่คู่แข่ง Check-Call บ่อยๆ แสดงว่าแฮนด์ของคู่แข่งมักจะไม่ได้แข็งแกร่งมาก เป็นแฮนด์กลุ่มกลางๆมากกว่า ดังนั้น มีโอกาสูงที่เราจะบลัฟแล้วเขาจะยอมหมอบ ที่ Turn หรือ River โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้า Runout ที่ Turn หรือ River น่าจะไม่ช่วยพัฒนาแฮนด์ของคู่แข่งได้ หรือช่วยพ้ฒนาแฮนด์เรามากกว่า เช่น Runout เป็น Overcard หรือไพ่ใหญ่ๆ เป็นต้น เช่น เราบลัฟที่ Flop Q63 แล้ว Turn เป็น K ถ้าเราบลัฟอีกด้วย Bet Size ใหญ่ๆ ก็มีโอกาสที่คู่แข่งจะต้องหมอบกับแฮนด์กลางๆ อย่างเช่น Pair เล็กๆ หรือ Ax ได้หลายๆแฮนด์
    4. เมื่อคู่แข่งเป็นสไตล์ Tight
      หากเราจับสังเกตได้ว่า คู่แข่งเป็นผู้เล่นที่ค่อนข้าง Tight หรือเล่นแบบระมัดระวังตัวมากๆ แปลว่า มีโอกาสที่เขาจะหมอบบ่อยกว่าปกติ ถ้าเขาไม่มีแฮนด์ที่ดีจริงๆ ดังนั้นจึงเป็นโอกาสให้เราบลัฟกับแฮนด์ที่ไม่มี Showdown ได้กว้างขึ้น
    5. เมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่มี ICM Pressure
      ICM Pressure คือ สถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในโป๊กเกอร์ทัวร์นาเมนต์ ในช่วงที่เงินรางวัลจะเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด เช่น ช่วงที่ใกล้จะ ITM, ช่วงที่เงินรางวัลกระโดดข้ามขั้น (Pay Jump), ช่วงก่อนเข้า Final Table และช่วงที่เล่นใน Final Table ที่ทำให้ คนที่มีชิพกลางๆ จะเกิดความกลัวว่า ถ้าเล่นแล้วแพ้ เสียชิพมากไป หรือตกรอบไปก่อนคนที่ชิพน้อยกว่า จะเสียโอกาสที่จะได้เงินรางวัลเพิ่มขึ้นอย่างมาก ทำให้ไม่อยากเสี่ยงโดยไม่จำเป็น หรือไม่มีแฮนด์ที่ดีจริงๆ เลยเปิดโอกาสให้คนที่มีชิพมากกว่า หรือเป็น Chip Leader บนโต๊ะ สามารถ Bet หรือ Open Raise ได้บ่อยกว่าปกติ เพื่อกดดันผู้เล่นกลุ่มนี้ได้มาก ทำให้มีโอกาสกินชิพได้มากขึ้น จากการที่คนที่ชิพกลางๆจะหมอบให้บ่อยขึ้น
  • โอกาสที่เราพิจารณาว่าจะจับบลัฟ
    1. เมื่อแฮนด์ของเราไม่ได้บล็อคไพ่ที่คู่แข่งจะบลัฟ
      หลักการจับบลัฟ ก็จะตรงข้ามกับการบลัฟ คือ เราควรจะถือไพ่ที่ไม่ใช่ Blocker ที่คู่แข่งจะใช้บลัฟ เพราะถ้าเราถือ แปลว่า คู่แข่งก็จะมีโอกาสบลัฟน้อยลง และมีโอกาสเป็น Value Bet มากขึ้น เช่น ถ้าบอร์ดเป็น KT862แฮนด์อย่าง K4 อาจจะเป็นแฮนด์ที่น่าใช้จับบลัฟมากกว่า K7 เพราะ K3 ไม่ได้ถือไพ่ที่คู่แข่งมักจะใช้บลัฟอย่าง 7 เหมือนอย่าง K7 เป็นต้น
    2. เมื่อ Action หรือ Bet Size ที่คู่แข่งเล่นมาจนถึง River ไม่สมเหตุผล
      เราอยากจะจับบลัฟคู่แข่งมากขึ้น ถ้าวิธีการเล่นของคู่แข่งมันเล่าเรื่องราวการเล่นที่ถูกไม่ค่อยสมเหตุผล เช่น Flop AKQ คู่แข่ง Bet ใหญ่ แต่พอ Turn ตก 5 คู่แข่งเลือก Check แล้วพอ River เป็น 8 คู่แข่งกลับมา Bet ใหญ่อีกครั้ง มันจึงดูไม่ค่อยสมเหตุผลเนื่องจาก 5 ที่ Turn ไม่ได้ทำให้บอร์ดเปลี่ยน ถ้าคู่แข่งมีแฮนด์ที่ดีจริง จึงน่า Bet ต่อมากกว่าจะ Check นั่นเอง
    3. เมื่อคู่แข่งเป็นผู้เล่นที่ Over Aggressive
      ถ้าเราพอจะสังเกตได้ว่าคู่แข่งเป็นผู้เล่นที่ Bet บ่อยมากๆ ก็เป็นไปได้ว่า เขาน่าจะมีบลัฟได้มากกว่าปกติ ดังนั้น เราอาจจะต้องพยายามกล้าเล่นมากขึ้นด้วยการหมอบน้อยลง จับบลัฟบ่อยขึ้น กับแฮนด์ที่กว้างขึ้น เช่น พวก Middle Pair เป็นต้น

สรุป

ทั้งหมดนั้น คือหลักการและเทคนิคการเล่นเท็กซัส โฮลเดม แบบที่มือโปรเล่นโดยสรุปที่เราอยากนำมาฝากกัน หวังว่าทุกคนจะนำไปฝึกฝนใช้จนชำนาญ เพื่อให้พัฒนาการเล่นของเราให้แข็งแกร่งขึ้นได้